วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ดนตรี มิติสัมพันธ์ และอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์



ในที่สุดก็พบว่าการฟังเพลง dual piano sonata บนบันไดเสียง d major (k.448) ของโมสาร์ตช่วยให้ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ขอองคนเพิ่มขึ้น ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นก็คือความสามารถทางมิติสัมพันธ์นี้เป็นพื้นฐานสำคัญมากต่อการเรียนรู้ ทางด้านคณิตศาตร์ วิทยาศาตร์ สถาปัตย์กรรม หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตปกติของคนเรา หากเราจะตีความจากเรื่องราวต่างๆ ของการค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวโยงกันนี้ ก็น่าจะสรุปได้ว่า อันความสามารถาทางมิติสัมพันธ์ที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์นั้นสามารถกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฟังดนตรี (ซึ่งอาจจะไม่จำเพาะเจาะจงว่าจะต้องเป็นเพลงของโมสาร์ตเท่านั้น แต่ขณะนี้มีเฉพาะเพลงของโมสาร์ตเท่านั้นที่มีรายงานการวิจัยที่ชัดเจน ) อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของความสามารถทางมิติสัมพันธ์ อันเป็นผลมาจากการทดลองของ ดร.ฟรานชิส เราส์เชอร์ นั้นเป็นการเพิ่มขึ้นในลักษณะชั่วคราว เธอจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่ออีกว่าประสบการณ์ดนตรีในแง่มุมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรี การร้องเพลง หรือการฝึกกิจกรรมเข้าจังหวะจะมีผลทำให้ความสามารถทางมิติสัมพันธ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยทำการศึกาเปรียบเทียบในกลุ่มเด็กอนุบางฃลและประถมต้นว่า ระหว่างการเรียนเปียนโน เรียนขับร้อง และเรียนคอมพิวเตอร์ อันไหนจะมีผลต่อความสามารถทางมิติสมพันธ์มากกว่ากัน ซึ่งก็พบว่าการเรียนเปียนโนทำให้คะแนนความสามารถทางมิติสัมพันธ์ของกลุ่มทดลองสูงขึ้นกว่าการรียนขับร้อง และเรียนคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังพบว่าการฝึกกิจกรรมประกอบจังหวะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจเรื่องมิติของเวลาได้มากขึ้นอีกด้วย
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่คนทั้งโลกรู้จักก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสามรถทางมิติสัมพันธ์สูงมาก ด้วยความสามารถอันนี้เอง ที่ทำให้เขาค้นพบทฤษฎีสัมพันธ์ภาพทั่วไป ซึ่งอธิบายความเป็นไปของเอกภาพได้แจ่มชัดที่สุด 100 ปีผ่านไปก็ยังไม่มีใครสามารถล้มล้างทฤษฎีของเขาได้ ตรงกันข้ามนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังๆ คนแล้วคนเล่าที่พิสูจน์ว่าสิ่งที่ ไอน์สไตน์ค้นพบนั้นถูกต้องและเป็นจริงที่สุด
และเมื่อไม่กี่ปีมานี้เองไมการนำสมองของไอน์สไตน์มาศึกษาอีกครั้ง สิ่งที่พบก็คือสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสามารถทางมิติสัมพันธ์นั้นโตกว่าของคนทั่วๆไปนี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าความสามารถทางมิติสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญกับมนุษย์และวงการวิทยาศาสตร์เพียงไร แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าไอน์สไตน์นั้นชอบดนตรีป็นชีวิตจิตใจ ไอน์สไตน์เรียนดนตรีตั้งแต่อายุ 6 ขวบ เครื่องดนตรีประจำตัวของเขาก็คือไวโอลิน เขาจะไม่ไปไหนดดยขาดไวโอลินโดยเด็ดขาดความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นนี่เอง ทำให้ไอน์สไตน์ถึงกับประกาศว่า หากชีวิตของเขาไม่สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนักวิทยาศาสตร์สิ่งที่เขาจะทำก็คือการหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนักไวโอลิน
คำถามที่ยังตอบไม่ได้ก็คือ ความสามารถทางมิติสัมพันธ์อันเอกอุของไอน์สไตน์นี้เป็นผลมาจากการสัมผัสกับดนตรีหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่ยากต่อการหาคำตอบยิ่งนัก เพราะเราต้องหาคนที่ฉลาดเท่าไอน์สไตน์ เล่นดนตรีเหมือนไอน์สไตน์มาจำนวนหนึ่ง แล้วทำการศึกษาของคนเหล่านั้น เปรียบเทียบกับสมองของไอนสไตน์ จนปัจจุบันเรายังหาคนที่มีคุณสมบัติดังที่ว่าไม่เจอเลยครับ
สำหรับประเทศไทยของเรา การทำให้ลูกหลานรุ่นใหม่ของเรามีความสามารถทางมิติสัมพันธ์มากขึ้นจะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน ทั้งนี้เพราะเราจะต้องก้าวเดินเข้าไปสู่โลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ต้องถึงขนาดไอน์สไตน์ก็ได้ครับ (แต่ถ้าได้ก็ดี) ขอเพียงสักใกล้ ๆ กับไอน์สไตน์ก็พอ แต่ขอให้มีจำนวนมากเพียงพอที่จะนำพาประเทศของเราให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งและมั่นคงก็น่าจะพอแล้ว



วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตารางกิจกรรมประจำวันโรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม


ตารางกิจวัตรประจำวันของสาธิตอนุบาลจันทรเกษมแบบเป็นทางการ7.30-08.15 น. รับเด็กเป็นรายบุคคล8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย14.40-15.00 น. เกมการศึกษา

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันที่ 3/11/50




วันนี้อาจารย์ ได้สรุปเรื่องการคิดเชิงอนุรักษ์ว่าคือการที่เด็กสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลและได้มอบงานการทำงานวิจัยให้ไปทำแบบเป็นกลุ่ม

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวันที่12/11/50


คณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจัดขึ้นเพราะให้เด็กมีประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์เพื่อที่จะสามารถ นับ และแทนค่าตัวเลข การเปรียบเทียบในชีวิตประวันได้
พัฒนาการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้คณิตศาตร์คือ สติปัญญา จากทฤษฎีทางสติปัญญาของเปียเจต์คือการเรียนรู้ของเด็กมี4ขั้นคือ
1.การเรียนรู้จากการสัมผัสโดยประสาทสัมผัสทั้ง5